ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์, พ.บ., ปร.ด.
ศาสตราจารย์ ดร.แพทย์หญิง.
Nattiya Hirankarn
Professor Dr. (M.D.)
สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ: ภูมิคุ้มกันวิทยา, พันธุกรรมของระบบภูมิคุ้มกัน, ภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง, ภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเอง (Immunology, Immunogenetics, Cancer Immunotherapy, Autoimmune Diseases)
หน่วยภูมิคุ้มกันวิทยา, ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร: +662564132, Fax: +6622525952
อีเมล์: Nattiya.H@chula.ac.th
ระดับปริญญา | สาขาวิชา | สถาบัน |
ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.) | แพทยศาสตร์
(Doctor of Medicine) |
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(Faculty of Medicine, Chulalongkorn University) |
ปริญญาเอก (Ph.D.) | Microbiology and Immunology | Georgetown University, USA |
งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ: Cancer Immunotherapy, SLE Genetics, Inborn error of Immunity
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยาและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันพัฒนามาจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยลูปัสซึ่งดำเนินการผลิตผลงานวิจัยมาต่อเนื่องกันตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 โดยทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีความสนใจในโรคลูปัสจากหลายสาขาอาทิ ผู้เชี่ยวชาญระบบภูมิคุ้มกัน, ผู้เชี่ยวชาญโรคไต, ผู้เชี่ยวชาญโรคผิวหนัง, ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ, นักพันธุกรรมศาสตร์, นักชีวสารสนเทศน์ และ เภสัชกรคลินิก นอกจากนี้ยังเป็น Multi-Center Collaboration โดยมีความร่วมมือระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานีซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาโรคลูปัสของกระทรวงสาธารณสุข และยังร่วมมือกับ University of Hongkong, Anhui Medical University, Shanghai Jiaotong University School of Medicine เป็น Asian Lupus Consortium ในการเก็บรวบรวมผู้ป่วยที่มีอาการแสดงในระบบต่างๆ ที่มีจำนวนเพียงพอต่อการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีแผนดำเนินการวิจัยหลักๆ 3 ด้าน คือ
ในปัจจุบันศูนย์ฯยังขยายงานวิจัยไปยังโรคอื่นๆที่มีพยาธิกำเนิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ที่ยังเป็นปัญหาสุขภาพของประเทศ ได้แก่ โรคสะเก็ดเงินซึ่งเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากภูมิต้านเนื้อเยื่อตนเองที่พบได้บ่อยที่สุดและอาจมีผลรุนแรงของอวัยวะอื่นๆได้ด้วย โรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังซึ่งนำไปสู่ภาวะตับแข็งและมะเร็งตับซึ่งยังเป็นปัญหาสำคัญของประชากรไทยโดยพยาธิกำเนิดไม่ได้เกิดจากการทำลายจากเชื้อไวรัสโดยตรงแต่เป็นผลจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติเป็นหลัก โรคติดเชื้อในกระแสเลือดก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้ป่วยจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่รุนแรง นอกจากนี้ระบบภูมิคุ้มกันยังเป็นด่านสำคัญต่อการปลูกถ่ายเซลล์และอวัยวะซึ่งเป็นการรักษาสุดท้ายของโรคต่างๆ จำนวนมากในปัจจุบัน
ศูนย์ฯมีความเชี่ยวชาญด้านการหาดัชนีบ่งชี้การเกิดโรคพยากรณ์ความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งการตอบสนองต่อการรักษาโดยอาศัยเทคโนโลยีด้านอณูชีวโมเลกุลและภูมิคุ้มกันวิทยาโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างถูกต้องและเหมาะสมเฉพาะบุคคล (Personalized therapy) นอกจากนี้ความเข้าใจในกลไกการเกิดโรคมากขึ้นจะนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ รวมถึงการป้องกันโรคในอนาคตต่อไป
ลิ้งค์สำหรับประวัติงานวิจัย:
PUBMED; https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/?term=Nattiya+Hirankarn&size=200
Google Scholar; https://scholar.google.co.th/citations?user=UTvbtQ0AAAAJ&hl=en
SCOPUS; https://www.scopus.com/authid/detail.uri?authorId=12783320200
ORCID ID; https://orcid.org/0000-0003-2224-6856
https://www.research.chula.ac.th/researcher-/nattiya-hirankarn/
Books