ภาควิชาจุลชีววิทยา มีพันธกิจครอบคลุมถึงการจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาบัณฑิต บัณฑิตศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต และวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต  สหสาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ร่วมกับภาควิชาจุลชีววิทยา อีก 4 คณะ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย คณะทันตแพทยศาสตร์,คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์  และคณะวิทยาศาสตร์

ภาควิชาจุลชีววิทยาร่วมผลิตแพทยศาสตร์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545)

ประธานรายวิชาหลัก ได้แก่

  • รายวิชา หลักภูมิคุ้มกันวิทยา (Principle of Immunology) (3000364)
  • รายวิชา หลักจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาทางการแพทย์ (Principle of Medical Microbiology and Parasitology) (3000366)
  • รายวิชา เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ระบบผิวหนัง และระบบกล้ามเนื้อโครงกระดูก (Connective Tissue, Integumentary and Musculoskeletal Systems) (3000374)
  • รายวิชา ภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิกและการติดเชื้อในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Clinical Immunology and Infections in Immunocompromised Host) (3000386)

รายวิชาเลือกของภาคฯสำหรับนิสิตแพทย์ ได้แก่

  • รายวิชา การติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อฉวยโอกาส (HIV and Opportunistic Infections) (3004326)
  • รายวิชา การทดสอบทางห้องปฏิบัติการขั้นสูงทางจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาทางการแพทย์ (Advanced Laboratory Investigation in Medical Microbiology and Immunology) (3004328)
  • รายวิชา อณูชีววิทยาประยุกต์ด้านโรคติดเชื้อ (Applied Molecular Biology of Infectious Diseases) (3004330)
  • รายวิชา ภูมิคุ้มกันวิทยาขั้นสูงทางคลินิก (Advanced Immunology in Clinical Practice) (3004332)
  • รายวิชา ภูมิคุ้มกันแห่งชีวิต (Immune Resistance of Life) (3004334)
  • รายวิชา ประสบการณ์การวิจัยทางจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาทางการแพทย์ (Research Experience in Medical Microbiology and Immunology) (3004336)
  • รายวิชา ปัญหาโรคติดเชื้อเขตร้อนในประเทศไทย (Tropical Diseases Problems in Thailand) (3004324)

แกนหลักเพื่อร่วมผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตในหลักสูตรสหสาขาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ (หลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ. 2549)

ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาควิชาจุลชีววิทยาจาก 5 คณะ คือ คณะแพทยศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และวิทยาศาสตร์  โดยผู้อำนวยการหลักสูตรฯและสถานที่เรียนในชั้นปีที่ 1 อยู่ที่ภาควิชาจุลชีววิทยา  คณะแพทยศาสตร์เป็นหลัก  มีรายวิชาของภาควิชาฯที่รองรับหลักสูตรนี้จำนวนทั้งสิ้น 20 รายวิชา

รายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://www.medmicro.grad.chula.ac.th/

นอกจากนี้ภาควิชาจุลชีววิทยายังเปิดรายวิชา Med Viro Myco (3004423) สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะสหเวชศาสตร์ด้วย

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ (สหสาขาวิชา)

เปิดสอนตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2526   ต่อมาได้ปรับปรุงหลักสูตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2537  หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันเป็นหลักสูตรปรับปรุง  ปี พ.ศ. 2545   ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาทั้งเก่าและใหม่ที่กำลังจะเปิดสอนด้านการแพทย์และหรือสาธารณสุข  รวมทั้งการพัฒนาอย่างรวดเร็วทางวิชาการและเทคโนโลยี   ได้แก่  การเพิ่มขึ้นของการนำอาหารส่งออกที่ต้องรักษามาตรฐานและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น  ตลอดจนการเกิดโรคอุบัติใหม่ที่ส่วนใหญ่เป็นโรคที่มีการติดต่อระหว่างคนและสัตว์  และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับจุลชีววิทยา  ไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์   สัตวแพทย์  ทันตแพทย์  เภสัชศาสตร์  และการสาธารณสุข   ซึ่งล้วนแต่จะต้องมีศาสตร์ทางด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์เข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วย    และด้วยเอกลักษณ์ของหลักสูตรที่เป็นสหสาขาวิชา  ประกอบด้วยคณาจารย์ด้านจุลชีววิทยาจากคณะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง   จึงเป็นโอกาสดีที่จะใช้การบูรณาการในสาขาเหล่านี้ เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาของประเทศ  โดยสร้างบุคลากรที่สามารถจะเป็นอาจารย์  นักวิชาการ และหรือนักวิจัย   เพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว  หลักสูตรฯจึงเห็นสมควรปรับปรุงปรุงหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอนโดยปรับเปลี่ยนรายวิชาบังคับ   ยกเลิกแขนงวิชา   และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอน
ดูรายละเอียดหลักสูตรที่    http://www.medmicro.grad.chula.ac.th/

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยาทางการแพทย์ (สหสาขาวิชา)

นอกจากภาควิชาจุลชีววิทยาจะมีการจัดการเรียนการสอนในคณะต่างๆ ภายใน มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์แล้ว  ทางภาควิชายังได้รับความไว้วางใจจากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ให้จัดการเรียนการสอนสำหรับกับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ดังนี้

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
รายวิชา 1213103 จุลชีววิทยา (Microbiology)  สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย

วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
ร่วมกับภาควิชาปรสิตวิทยาจัดการเรียนการสอน รายวิชา วตฉช 106  จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา (Microbiology and Parasittology) โดยเป็นโครงการที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548

© Microbiology Chulalongkorn Mock up, 2014. All rights reserved.   Total Page Views:
Togel